พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยงซ่อนตัวอยู่ในซอยอโศก อีกอย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร เป็นเรือนไม้สไตล์ล้านนาอยู่ในการดูแลของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมรดกอันทรงคุณค่าของสถาปัตยกรรมของล้านนาอันเก่าแก่ และแสดงให้เห็นว่ายุคสมัยล้านนาเมื่อเจริญถึงขีดสุดนั้นเป็นอย่างไร อาณาจักรล้านนาก่อตั้งในสมัยศตวรรษที่ 13 หรือเมื่อ 700 กว่าปีก่อน ขึ้นไปทางเหนือของไทย โดยมีศูนย์การการปกครองที่นครเชียงใหม่ซึ่งต่อมาได้ตกเป็นเมืองบริวารและกลายเป็นจังหวัดหนึ่งของไทยในที่สุด
พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง เป็นเรือนเครื่องสับแบบล้านนาไทยดั้งเดิม หรือที่รู้จักกันว่า “เรือนกาแล” เป็นเรือนเก่าแก่อายุร้อยกว่าปี เป็นเรือนสร้างติดริมน้ำปิง ผู้สร้างคือนางปซ้ด ลูกหลานสืบเชื้อสายธิดาเจ้าเมืองแช่ ชาวไทลื้อแห่งนครสิบสองปันนาซึ่งถูกกวาดต้อนมาอยู่เมืองเชียงใหม่สมัยพระเจ้ากาวิละ เรือนแห่งนี้ย้ายมาที่สยามสมาคมตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 1963 เพราะลูกหลานของเจ้าของเรือนอยากเห็นมรดกล้ำค่าชิ้นนี้เป็นแหล่งความรู้เชิงประวัติศาสตร์แด่ชนรุ่นหลังสืบไป ซึ่งชื่อเรือนแม่คำเที่ยงก็มาจากเจ้าของคนสุดท้ายที่อาศัยอยู่ที่เรือนหลังนี้ ซึ่งในบ้านจะจัดแสดงเครื่องเรือน ข้าวของต่างๆ เหมือนสมัยที่ยังมีคนอาศัยอยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความผูกพันธ์ของคนที่อาศัยในครอบครัวระหว่างร้อยปีตั้งแม่แซ้ดจนถึงแม่คำเที่ยง เรื่องราวของรุ่นยายสู่รุ่นหลานนั่นเอง
แล้วอะไรคือสิ่งที่น่าสนใจในพิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง? หากใครที่เคยไปบ้านจิม ทอมป์สันแล้วประทับใจที่นั่น ต้องบอกว่าที่นี่คืออีกเวอร์ชั่นคู่ขนานของพิพิธภัณฑ์บ้านโบราณที่มีกลิ่นอายของชนบทล้านนา ซึ่งสะท้อนให้เห็นความแตกต่างของพิพิธภัณฑ์ทั้งสองแห่งระหว่างบ้านโบราณในชุมชนเมืองกับบ้านในชุมชนต่างจังหวัดได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราจะเห็นกระเดื่องตำข้าว ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆในบ้าน หรือจะเป็นเครืองทอผ้าที่ถูกจัดแสดงไว้ในบ้าน ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชิ้นมีคำบรรยายบ่งชี้ไว้เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจถึงวิธีชีวิตความเป็นอยู่ของคนสมัยนั้น ในขณะที่ตัวบ้านแม้จะถูกย้ายมาจากเชียงใหม่และมีอาบุเกินร้อยปี แต่ก็ได้รับการประกอบและบำรุงรักษาให้คงสภาพไว้ให้ใกล้เคียงของเดิมได้อย่างมากที่สุด ซึ่งความสนใจอีกอย่างคือ เมื่อแหงนมองไปรอบๆ จะพบว่า บ้านหลังนี้อยู่รอบๆ ตึกสูงๆ ของซอยอโศก ตัดกับความทันสมัยรอบๆ พิพิธภัณฑ์นี้จึงเหมือนสถานที่ที่ย้อนเวลากลับไปหาอดีตทันทีที่ย่างก้าวเข้าไปนั่นเอง
พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง เปิดตั้งแต่วันอังคารถึงวันเสาร์ 9.00 น. – 17.00 น. สอบถามข้อมูลเส้นทางการเดินทางได้ที่แผนกกงเซียจของโรงแรมได้ทุกเวลา